ภาวะการนอนหลับ

ขอบคุณภาพจาก bangkokpattayahospital.com

การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน ตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงวัยชราต้องนอนหลับอย่างพอเพียง ในคนปกติมีการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆของร่างกายที่มีลักษณะเฉพาะ มีการปรับตัวให้เข้ากับกลางวันและกลางคืน โดยใช้วงจรหลับตื่นเป็นตัวกำหนดเพื่อความอยู่รอด การหลับและตื่นมีความแตกต่างกันตามอายุ โดยเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ

ภาวะการนอนหลับในแต่ละช่วงวัยที่ดี
  • ทารกแรกเกิดใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนหลับ วันละประมาณ 16-20 ชั่วโมง
  • สู่วัยเรียนการนอนก็จะลดลงเหลือ 9-10 ชั่วโมง
  • วัยผู้ใหญ่ก็จะใช้เวลาในการนอนเพียง 5-6 ชั่วโมง

แต่การนอนหลับของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตั้งแต่วัยเด็ก เมื่อเข้าสู่วัยชราการนอนหลับจะแตกต่างและเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน คือเริ่มมีการตื่นในช่วงกลางดึกบ่อยขึ้นจะหลับไม่ได้รวดเดียวถึงเช้าเหมือนวัยหนุ่มสาว อาจมีหลับในช่วงกลางวันเพิ่มมากขึ้นในบางวัน

การขาดการนอนหลับในคนปกติสามารถทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของคนผู้นั้นได้ เช่น มีอาการมึนงง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หงุดหงิด สมาธิไม่ดี การตัดสินใจแย่ลงเป็นต้น ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยชราจะมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการนอนหลับทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ เหมือนการเลี้ยงดูปลาถ้าให้ความเอาใจใส่น้อยให้อาหารไม่ดี ปลาก็จะโตไม่เต็มที่หรือไม่สมบูรณ์อาจมีโรคแทรกได้ การขาดการนอนหลับในคนที่มีโรคประจำตัวอาจจะทำให้โรคหรืออาการของโรคที่มีอยู่นั้นเพิ่มมากขึ้นหรือกำเริบขึ้น ดังนั้นในทุกคนทุกวัยถ้าไม่เอาใจใส่สุขอนามัยของการนอนหลับแล้วสุขภาพของคนก็จะแย่ลง เราสามารถทำให้คุณภาพการนอนเปลี่ยนแปลงดีขึ้นได้ด้วยการเอาใจใส่ให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ สุขภาพกายและสุขภาพใจก็จะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง


โรคต่างๆเกี่ยวกับการนอนหลับผิดปกติ (Sleep Disorders)
1.โรคนอนไม่หลับ

เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในคนไข้เกือบทุกวัยไม่ว่าจะมีอาการนี้ในระยะสั้น (acute) หรือเป็นเรื้อรัง (chronic) อาการนอนไม่หลับเป็นโรคความผิดปกติในการนอน นอนยาก ไม่ง่วงเมื่อถึงเวลานอน นอนหลับไม่สนิท นอนแล้วตื่นกลางดึก หรือแม้จะรู้สึกอ่อนเพลียเพียงใดก็ไม่สามารถนอนหลับได้ กลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่รบกวนจิตใจและกระบวนการทำงานของร่างกาย ซึ่งการนอนไม่หลับเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่ปัจจัยทางร่างกาย ปัจจัยทางจิตใจ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมและอุปนิสัยการนอน (sleep hygiene) เป็นต้น

โรคนอนไม่หลับมีอาการสำคัญ ดังนี้

  • นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ใช้เวลานานกว่าจะนอนได้
  • หลับยาก นอนดึก ตื่นสาย
  • นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ รู้สึกตัว ตื่นขึ้นกลางดึก
  • ตื่นแล้วไม่สามารถนอนหลับต่อไปได้อีก
  • อ่อนล้า หมดแรง ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า

ปัจจัยที่ทำให้มีอาการนอนไม่หลับ อาจเกิดได้จาก

  • การดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง เช่น ช กาแฟ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์จะทำให้
  • ร่างกายหลับไม่ปกติ เช่น ทำให้ตื่นบ่อย หลับไม่สนิท หลับๆ ตื่นๆ
  • แสงหรือเสียงรบกวน อาจทำให้มีอาการนอนหลับไม่สนิท หลับๆตื่นๆได้
  • ความคิดวิตกกังวลว่าตนเองจะนอนไม่หลับ
  • การรับประทานยางชนิด เช่น ยาโรคหัวใจ , ยาความดัน , ยาแก้แพ้ , เป็นต้น
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น อาจส่งผลให้มีอาการนอนไม่หลับได้มากขึ้น

วิธีแก้อาการนอนไม่หลับ

  1. ควรหลีกเลี่ยงการดื่ม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ในหลังช่วงบ่าย จนถึงก่อนนอน
  2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายหลังสารเคมีที่ช่วยลดความตึงเครียดของร่างกายได้
  3. พยายามไม่งีบหลับในช่วงกลางวันมากเกินไป เพราะจะทำให้ไม่ง่วงและคุณภาพการนอนไม่ดีในคืนนั้น

2.นอนหลับมากเกินปกติ / โรคนอนเกิน / โรคนอนขี้เซา

กลุ่มนี้นอนหลับมากเกินไปซึ้งเกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาท ดังนั้นจึงควรได้รับการค้นหาสาเหตุเพิ่มเติมเช่นกัน อย่างก็ตามก่อนจะลงความเห็นว่าคนไข้ที่ง่วงนอนผิดปกติตกอยู่ในกลุ่มนี้ ควรมั่นใจก่อนว่าคนไข้ดังกล่าวได้รับการนอนหลับพักผ่อนแล้วอย่างเพียงพอ ไม่ใช่พวกอดหลับอดนอน (Insufficient sleep syndrome) คนไข้ Central origin of hypersomnolenceส่วนใหญ่มีการง่วงนอนผิดปกติในเวลากลางวัน (excessive daytime sleepiness)

ขอบคุณข้อมูลจาก

www.naturebiotec.com


0 Comments

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *